PM หม้อแปลงไฟฟ้า กรองน้ำมันหม้อแปลง

  

  

 

บริการตรวจสอบหม้อแปลง กรองน้ำมัน ตรวจสอบตู้จ่ายไฟ(MDB)

หัวข้อตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้า

  1. ตรวจวัดค่าฉนวนของน้ำมันหม้อแปลง (Dielectric Breakdown Voltage)
  2. ตรวจวัดค่าความต้านทานฉนวนขดลวดและค่า Polarization Index
  3. ตรวจวัดค่าความต้านทานสายดิน
  4. ตรวจสอบและกวดขันจุดต่อสาย
  5. ตรวจสอบสภาพของปะเก็นตามส่วนต่าง
  6. ตรวจสอบรอยรั่วซึมรอบนอกหม้อแปลง
  7. ตรวจสอบอุปกรณ์หม้อแปลงฯทั่วไป
  8. ตรวจสอบการทำงานของเทอร์โมมิเตอร์ พร้อมทั้งดูอุณหภูมิว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่
  9. ทำความสะอาดลูกถ้วยทั้งแรงสูง-แรงต่ำ อุปกรณ์อื่นๆของหม้อแปลง
  10. เปลื่ยนสารดูดความชื้น (Silica gel)
  11. ทดสอบอัตราส่วนขดลวด (Turn Ratio) - Optional
  12. ทดสอบความต้านทานขดลวด (Winding Resistance) - Optional

 

หัวข้อตรวจสอบตู้จ่ายไฟหลัก

  1. ตรวจวัดค่าความต้านทานฉนวนของบัสบาร์ (Insulation Resistance)
  2. ตรวจวัดค่าความต้านทานสายดิน (Ground Resistance)
  3. ตรวจสอบและกวดขันจุดต่อสาย
  4. ตรวจสอบและทำความสะอาดลูกถ้วย บัสบาร์ทองแดง สายไฟ
  5. ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ของตู้จ่ายไฟ
  6. ทำความสะอาดตู้จ่ายไฟและอุปกรณ์

หัวข้อตรวจสอบเบรคเกอร์ ACB

  1. ตรวจสอบการทำงานกลไกเปิด-ปิด
  2. ตรวจสอบและทำความสะอาดสภาพภายในและภายนอกของเซอร์กิตเบรคเกอร์
  3. ตรวจวัดค่าความต้านทานฉนวน (Insulation Resistance)
  4. ตรวจสอบ ทดสอบ ความต้านทานหน้าสัมผัส (Contact Resistance)
  5. ตรวจสอบ ทดสอบ การทำงานของระบบ TRIP UNIT

หัวข้อตรวจสอบคาร์ปาซิเตอร์

  1. ตรวจสอบสภาพของชุดคาร์ปาซิเตอร์
  2. ตรวจสอบหน้าสัมผัส (Main Contact) ของ Magnetic Contractor
  3. ตรวจสอบ HRC Fuse
  4. ตรวจวัดค่าคาร์ปาซิเตอร์ (Capacitance)
 
 

การบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า

         การบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อให้คงสภาวะปกติและยังทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ในระบบฉนวนของหม้อแปลงไฟฟ้า นั้นมีส่วน ประกอบหลักคือ น้ำมันฉนวน กระดาษฉนวน ซีลยาง ฉนวนทองแดง โดยวัสดุเหล่านี้จะเสื่อมสภาพ เมื่อมีความชื้นน้ำ เขม่า สิ่งเจือปนอื่นๆ และก๊าซปะปนอยู่ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้หม้อแปลงเสียหายหรือช็อตระเบิดได้ ดังนั้นจึงควรทำการตรวจสอบสภาพ และบำรุงรักษาหม้อแปลงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการลดค่าความเสียหายอีกทั้งยังทำให้ได้ประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดจากการใช้งาน

การตรวจเช็คและบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าเชิงป้องกัน
          หม้อแปลงไฟฟ้านับว่าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าขนิดหนึ่งที่จะต้องทำการตรวจเช็คและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอและค่อเนื่องโดยปกติทั่วไปควรตรวจเช็คทุกๆ 6 เดือนหรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานของหม้อแปลงไฟฟ้า

หัวข้อรายการควรตรวจเช็ค

1. ตัวถังหม้อแปลงไฟฟ้า (Main Tank)
- ตรวจรอยรั่วซึมของน้ำมัน , คราบน้ำมัน
- ตรวจคราบสกปรก , ฝุ่นและขยะที่เกาะติด
- ตรวจดูว่าเกิดสนิมหรือการกัดกร่อนของตัวถัง

2. การรั่วซึมรอบนอกของหม้อแปลงไฟฟ้า
- ตรวจดูปะเก็น/ซีลยางต่างๆ
- ตรวจดูวาล์วถ่ายน้ำมัน ( Drain Valve)

3. ชุดกรองความชื้น (Dehydrating Breather)
- ตรวจสอบการเปลี่ยนสีของซิลิก้าเกล (Silica gel) จากสีน้ำเงินเข้มเป็นสีชมพูไป 3/4 ของกระบอกกรองความชื้น (ควรแก้ไข)
- ตรวจสอบระดับน้ำมันในถ้วยใต้กระบอกกรองความชื้นว่ามีอยู่ในระดับที่มาตรฐาน
- ตรวจสอบซีลยางและน๊อตสกูรต้องไม่มีคราบน้ำมันและซีลยางไม่แตกระแหง มีผิวเรียบ
- ต้องดึงแผ่นอลูมิเนียมออกก่อนติดตั้งและจ่ายไฟ

4. การตรวจวัดค่า (Insulation Resistance

5. บุชชิ่งแรงสูง – แรงต่ำ (Bushing)
- ตรวจสอบผิด (คราบน้ำมัน , รอยอาคท์ (Arc) , ครีบบิ่นแตก
- ตรวจความสะอาดของบุชชิ่ง
- ตรวจดูรอยรั่วซึมของคราบน้ำมัน , สภาพซีลยาง (Seal)
- ตรวจ Bolt & Nut ของบุชชิ่งแรงสูง – แรงต่ำ

6. ขั้วต่อสายไฟเข้า – ออก ด้านแรงสูงและแรงต่ำ (Terminal Connector H.V. , L.V.)
- ตรวจดูรอยอาคท์ (Arc) หรือ Overheat
- ตรวจ Bolt & Nut ของ Terminal Connector ให้แน่น
- ตรวจสอบความสะอาดและทา Compound เพื่อช่วยเคลือบคลุมรอยสัมผัสไว้เป็นการกันความชื้นและอ๊อกซิเจนในอากาศ

7. ชุดปรับแรงดันไฟฟ้า (Off Load Tap Changer)
- ตรวจสภาพของ Handle และ Tap Changer ตรงล็อกหรือไม่
- ตรวจสอบรอยรั่วของน้ำมันและซีลยาง (Seal)
- ตรวจสอบการอาคท์ (Arc) หรือเชื่อมติดของ Tap Changer โดยการหมุน มา 4-5 ครั้ง

8. ที่วัดระดับน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า (ถ้ามี)
- สังเกตการณ์ขยับตัวของเข็มวัดระดับ (ถ้ามี)
- ตรวจดูระดับน้ำมันอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (20 Celsius) หรือไม่
- ตรวจขัน น๊อต สกูรให้แน่น
- ตรวจสอบรอยรั่วซึมน้ำมันและซีลยาง (Seal)
- ตรวจสอบกระจก/พลาสติก ว่าแตกชำรุดหรือไม่

9. เทอร์โมมิเตอร์ (ถ้ามี)
- ตรวจสอบกระจก/พลาสติกปัทม์แตกชำรุดหรือไม่
- ตรวจสอบรอยรั่วซึมคราบน้ำมัน
- ตรวจสอบค่าที่วัดอุณหภูมิ Top oil เกินค่าที่กำหนดหรือไม่ (ไม่เกิน 60 Celsuu
- ตรวจสอบการทำงานของอุณหภูมิถูกต้องหรือไม่

10. อุปกรณ์ความดัน (Pressure Relief Device) (ถ้ามี) 
- ตรวจสอบรอยรั่วซึคราบน้ำมัน

11. บุชโฮรีเลย์ (Buchholz Relay) (ถ้ามี)
- ตรวจสอบกระจก/หน้าปัดแตกชำรุดหรือไม่
- ตรวจสอบมี Gas สะสมมากผิดปกติหรือไม่
- ทดสอบการทำงาน

12. น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า
- ทดสอบค่า Breakdown Voltage ตามมาตรฐาน ASTM หรือ IEC
- ตรวจสอบสีของน้ำมัน
- ตรวจสอบค่าความเป็นกรด , ความหนืด
- ตรวจสอบสิ่งเจือปนในน้ำมัน

Credit : https://www.facebook.com/Nakornpingtransformers/

 

 

Visitors: 59,961